วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเข้าชั้นเรียน ครั้งที่ 7

24  กรกฎาคม  2556


อาจารย์เข้าสอน :  09:00 น.    หมายเหตุ  >>  เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจราชการอยู่ที่ห้องประชุม
นักศึกษาเข้าเรยีน  :  08:25  น.


กิจกรรมการเรียน  การสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1.  กระบวนการเบื้องต้น
     -  การวัด                  ต้องมีเครื่องมือในการวัด   ถ้าพูดถึงการวัดจะนึกถึง  จำนวน, ปริมาณ,ตัวเลข
     -  การจำแนก          ต้องตั้งเกณฑ์  EX.   ผมสั้น = เท่าติ่งหู   แต่ถ้า  ผมยาว = เลยบ่าลงมา
     -  หาความสัมพันธ์    มิติ + เวลา  
     -  ใช้ภาษาในการสื่อความหมาาย
     -  การคำนวน             EX.    กี่วันถั่วงอกจะโต
     -  การพยากรณ์        คือการคาดเดา  

2.  กระบวนการผสม
     -  ตั้งสมมติฐาน          คือการกำหนดประเด็นปัญหา  (การคาดเดา)
     -  ลงมือปฏิบัติ
     -  ควบคุมตัวแปร          คือการกำหนดสิ่งที่จะมีผลต่อการทดลอง
     -  การทดลอง
     -  ตีความ , สรุป

3.  วิธีการจัด
      1. จัดเป็นทางการ    
          - กำหนดจุดมุ่งหมาย
      2. จัดไม่เป็นทางการ   เช่น
          - มุมวิทยาศาสตร์ 
          - สภาพแวดล้อมที่ครูเตรียม
      3.  จัดตามเหตุการณ์
           -  ธรรมชาติ
           -  สิ่งที่พบเห็น

 4.   วิธีการเลือกใช้สื่อ
       1.  การเลือก 
            - เหมาะสมกับหน่วย
            - เหมาะกับพัฒนาการ
            -  เวลาและสถานที่
            -  กิจกรรม
        2.  เตรียมอุปกรณ์และทดลองใช้
       

ดูโทรทัศน์ครู  เรื่อง  Project  Approach  การสอนแบบโครงการปฐมวัย

Project Approach  คือ  การศึกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่างลุ่มลึก
               

5 ลักษณะของ Project  Approach
     1.  การอภิปราย
     2.  การนำเสนอประสบการณ์เดิม
     3.  การทำงานภาคสนาม   (ศึกษาจากแหล่งข้อมูลจริง)
     4.  การสืบค้น
     5.  การจัดแสดง  


ศึกษากระบวนการทางวิทยาศาตร์เพิ่มเติมจาก Power Point 








วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียน ครั้งที่ 6

17  กรกฎาคม  2556


หมายเหตุ      เนื่องจากวันนี้อาจารย์ผู้สอนติดภาระกิจ จึงไม่มีการเรียนการสอน   แต่อาจารย์ผู้สอนได้มอบหมายงานไว้   คือ  ให้คิดการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ  สื่อวิทยาศาตร์ที่ไว้ในมุมเสริมประสบการณ์


การทดลอง 

เปลวไปลอยน้ำ


อุปกรณ์ในการทดลอง 
          1.  เทียนไข       
          2.  แก้วทรงสูงใส่น้ำ  (ต้องสูงกว่าความยาวของแท่งเทียน)
          3.  หมุดหัวหมวกหรือตะปูเกลียวตัวเล็ก

วิธีการทดลอง     
          1.  เติมน้ำลงในแก้ว 5/6 แก้ว    
          2.  นำหมุดมาปักลงที่ฐานของเทียนไข  (ด้านป้าน)
          3.  นำแท่งเทียนใส่ลงไปในแก้วน้ำแล้วจุดเทียน

หลักการทางวิทยาศาสตร์
           เทียนไขลอยอยู่ที่ผิวน้ำได้และไฟก็จะไม่ดับ  เพราะเทียนทำจากขี้ผึ้งพาราฟินจึงไม่เปียกน้ำ และหมุดหัวหมวกทำหน้าที่เป็นจุดรวมน้ำหนักให้อยู่ที่แกนกลางของแท่งเทียน เทียนจึงไม่เองคว่ำ
           ขี้ผึ้งพาราฟินเป็นไขมันที่ได้จากการกลั่นของปิโตรเลียมที่มีลักษณะใส  ไม่มีกลิ่น  ไม่มีรสชาติ  คล้ายกับขี้ผึ้ง  มีจุดหลอมเหลวอยู่ที่ 47-64  องศาเซลเซียส   ซึ่งขี้ผึ้งพาราฟินบริสุทธิ์จะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี  ไม่ละลายน้ำ

  ....................................................................................................................................................


สื่อไว้ในมุมเสริมประสบการณ์

เลี้ยงแมลง




อุปกรณ์
        1.  ทรายแห้ง 2 ถ้วยตวง                                              
        2.  ขวดปากกว้างขนาด 4 ลิตร                          
        3.  แกนกระดาษทิชชู                                                  
        4.   กรรไกร
        5.  ฟองน้ำล้างจาน                                                      
        6.   ฝาขวดอันเล็ก
        7.  น้ำ                                                                            
        8.   กิ่งไม้ขนาดที่ใส่ในขวดได้พอดี 2-3 กิ่ง
        9.  ขนมปังอบแห้ง  1  ชิ้น                                            
       10.   แอปเปิ้ลสด 2 ชิ้น
       11.  จิ้งหรีด   5-6  ตัว                                                    
       12.  ถุงเท้ายาวถึงเข่า  1  ข้าง
                                                   

วิธีการทำ
         1.  เททรายใส่ขวด
         2.  ใส่แกนทิชชูลงในขวด  เพื่อให้จิ้งหรีดใช้เป็นที่ซ่อนตัว   ดัังรูป


         3.  ขั้นตอนนี้ต้องมีครูคอยแนะนำ หรือเป็นผู้ช่วยให้กับเด็ก    ตัดฟองน้ำเป็นชิ้นวงกลมขนาดพอดีกับด้านในของฝาขวด              ดังรูป



         4.  เอาฟองน้ำชุบน้ำ แล้วใส่ไว้ในฝาขวด  เอาฝาวางไว้ในขวด จิ้งหรีดจะกินน้ำจากฟองน้ำนี้  ดังนั้นระหว่างที่เลี้ยงจิ้งหรีดไว้ในขวดระวังอย่าให้น้ำแห้ง
         5.  ใส่กิ่งไม้ไว้ในขวด   สำหรับให้จิ้งหรีดไต่ ดังรูป



         6.   ใส่ขนมปังอบแห้งกับชิ้นแอปเปิ้ลไว้ในขวดให้จิ้งหรีดกินเป็นอาหาร  พอหมดแล้วก็ค่อยเติมให้
         7.  ใสจิ้งหรีดลงในขวดแล้วก็รีบใช้ถุงเท้ายาวปิดปากขวดทันที  ถุงเท้าสามารถระบายอากาศให้เข้าออกได้  และกันไม่ให้จิ้งหรีดหนีออกจากขวด   ดังรูป



         8.  หมั่นสังเกตดูจิ้งหรีดให้บ่อยที่สุด  จากนั้น 1-2  สัปดาห์จึงปล่อยมันออกสู่ธรรมชาติ

ใช้กับเด็กปฐมวัยโดย....
      ให้เด็กๆช่วยกันสร้างบ้านให้กับจิ้งหรีด  ตั๊กแตน  หรือผีเสื้อก็ได้  นำไปวางที่มุมวิทยาศาสตร์  หลังจากนั้นให้เด็กๆสังเกตการเจริญเติบโตของมันและจดบันทึก
       ** เด็กจะได้ .... เป็นคนช่างสังเกต  ช่างจดจำและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการจดบันทึก **





 


วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเข้าชั้นเรียน ครั้งที่ 5

10  กรกฎาคม  2556



อาจารย์เข้าสอน  :  08.45 น.
นักศึกษาเข้าเรียน  :  08.20  น.


กิจกรรมการเรียน  การสอน 

องค์ความรู้ที่ได้รับ

     -  นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์

รถพลังลม 




วัสดุอุปกรณ์ 
          1.  กระดาษแข็ง                                              2.   หลอดดูดน้ำ
          3.  ไม้เสียบลูกชิ้น                                           4.   ฝาขวดพาสติก
          5.  แก้วกระดาษ                                              6.   กาว
          7.  ดินน้ำมัน                                                   8.   เทปกาว

วิธีทำ
          1.  ตัดหลอดดูดน้ำ 2 หลอดให้ยาวกว่าด้านกว้าง ของกระดาษแข็งเล็กน้อย
          2.  ติดหลอดดูดน้ำทั้งสองหลอดกับกระดาษแข็ง ด้วยเทปกาว  ดังรูป




          3.  พลิกกระดาษแข็งอีกด้านหนึ่งขึ้นมาติดกับแก้วกระดาษด้วยกาว   ดังรูป




          4.  ใส่ดินน้ำมันลงไปในฝาขวดพลาสติก 4 ฝา เพื่อไว้สำหรับเสียบไม้ลูกชิ้นลงไป  ดังรูป



          5.  เสียบไม้ลูกชิ้นเข้าไปในหลอดดูดน้ำทั้งสองหลอดจากนั้นติดฝาขวดพลาสติกที่ใส่ดินน้ำมันไว้  แล้ว เข้าไปตรงส่วนปลายไม้ที่ยื่นออกมาทั้ง 4 ด้าน   ดังรูป




          6.  ตกแต่งรถพลังลมตามต้องการด้วยวัสดุต่างๆ  เช่น กระดุม  ตุีกตาไหมพมตัวเล็กๆ หรือกระดาษ  ดังรูป





วิธีการเล่น
          จำนวนผู้เล่น 2-6 คน
          1.  ขีดเส้นสนามแข่งลงบนพื้น  อย่าลืม!!! ขีดเส้นจุดเริ่มต้นและเส้นชัยด้วย
          2.  วางรถพลังลมไว้ที่จุดเริ่มต้น เมื่อได้รับสัญญาณผู้เล่นทุกคนจะต้องเป่าลมเข้าไปในแก้วกระดาษเพื่อให้รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า  ((ดูสิว่าใครจะเข้าเส้นชัยเป็นคนแรก))

หลักการทางวิทยาศาสตร์


         "แรงดันอากาศ"    คือ  แรงที่เกิดจากอนุภาคของอากาศที่เคลื่อนที่ชนกันเองตลอดเวลาในทุกทิศทาง  พุ่งมาชนกับผนังภาชนะ  ซึ่งรถพลังลมต้องอาศัยการใช้อากาศโดยที่เราเป่าปากแก้ว เพื่อให้รถพลังลมเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้


ทักษะที่ได้รับ
         1.  การคิดอย่างมีเหตุ มีผล
         2.  การใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เหลื่อใช้

การนำไปประยุกต์ใช้
          1.  ใช้ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์ ควบคู่กับ การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์  ในการประดิษฐ์ ตกแต่ง และบอกเหตุผลของความเปลี่ยนแปลง
          2.  ใช้ในการพัฒนาปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์ให้ทันสมัยและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเข้าชั้นเรียน ครั้งที่ 4

3 กรกฎคม  2556


อาจารย์เข้าสอน   08.35  น.
นักศึกษาเขารียน   08.20  น.

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

    -  ให้นักศึกษาสังเกตของเล่นวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อว่า  "กระบอกลุกปิงปอง"  และช่วยกันแสดงความคิดเห็นว่า "กระบอกลูกปิงปองนี้ช่วยให้เด็กรับรู้ในเรื่องใด"
 
" การมีประสบการณ์  เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 "

          
          -  ให้นักศึกษาทำสมุดเล่มเล็ก   โดยการวาดภาพลงไปหน้าละ 1 ภาพ (ต้องเป็นภาพที่ต่อเนื่องกัน)   
วิธีการเล่น     เปิดสมุดเร็วๆ  จะพบว่าภาพที่วาดนั้นเกิดการเคลื่อนไหว มีการเปลี่ยนแปลง
           -   ให้นักศึกษาดู VCD  "มหัศจรรย์ของน้ำ"   และสรุปเป็นองค์ความรู้


มหัศจรรย์ของน้ำ

         น้ำเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต  และร่างกายของคนเราเมื่อเสียเหงื่อออกมา  เหงื่อนั้นก็คือน้ำที่อยู่ในร่างกายของเรานั่นเอง  น้ำยังช่วยปรับสมดุล  อุณหภูมิในร่างกาย  มนุษย์จึงสามารถขาดน้ำได้เพียง 3 วันเท่านั้น!!!  
การทดลอง :  น้ำเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต


       
คุณสมบัติของน้ำ

1.  จากของแข็ง  เป็น  ของเหลว
2.  จากของเหลว  เป็น  ของแข็ง
3.  จากก๊าซ     เป็น  ไอน้ำ

การเกิดฝน      เกิดจากการรวมตวกันของไอน้ำที่ระเหยขึ้นสู่ท้องฟ้า แล้วจับตัวกันกลายเป็นเมฆ  หลังจากนั้นก็ตกลงมากลายเป็นฝน


การทดลองที่ 1  :   การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ



จะเห็นได้ว่า น้ำแข็งที่ได้รับความร้อน จนกลายเป็นของเหลว
แล้วจากของเหลวกลสยเป็นก๊าซ คือ ไอน้ำกระทบก้นจานจนทำให้เกิดน้ำหยดลงมา


การทดลองที่ 2  :   การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ



                     จะเห็นได้ว่า  น้ำที่เทใส่ในภาชนะมีปริมาณเท่ากัน  แต่หลังจากการนำน้ำไปตากแดดเป็นเวลา 1 วันแล้ว  พบว่าน้ำในจานเหลือน้อยกว่าน้ำในแก้ว   เกิดจาก  ผิวหน้าของจานมีความกว้างกว่า น้ำจึงระเหยเร็วจากการโดนความร้อนนานๆ 


การทดลองที่ 3  :   การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ

1.  เทน้ำใส่แก้วจนเต็ม
2.  ใช้กระดาษปิดปากแก้ว  แล้วแช่ช่องแข็งในตู้เย็น




จะพบว่าหลังจากที่นำแก้วน้ำออกจากช่องแช่เข็งแล้วน้ำในแก้วจะเป็นน้ำแข็ง
และดันกระดาษที่ปิดปากแก้วจนเห็นได้ว่านูนขึ้น  เกิดจาก  การขยายตัวเพิ่ม 12 % ของน้ำ 


การทดลองที่  4  :  การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ



จากการทดลองนี้จะพบว่า ... เมื่อใส่แครอตลงไปในแก้วที่มีแต่น้ำเปล่า  แครอตนั้นจะจมลงสู่ก้นแก้ว
แต่พอเราเติมน้ำเกลือลงไปในน้ำที่อยู่ในแก้วด้วย  จะเห็นว่า ชิ้นแครอตนั้นจะลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำ
เกิดจาก   น้ำเกลือมีความอัดแน่นกว่าน้ำเปล่าสธรรมดา


การทดลองที่ 5  :   ตกปลาน้ำแข็ง


จากการทดลอง จะเห็นได้ว่าน้ำแข็งติดขึ้นมากับผ้าพันแผล  จากการโรยเกลือลงบนผ้าพันแผลนั่นเอง เกิดจาก    เกลือสามารถดูดความร้อนได้


การทดลองที่ 6  :  การกดดันน้ำ  *ทฤษฎีการสร้างเขื่อน*
1.  เจาะรูขวดพลาสติก 3 รูเรียงในแนวตั้ง ให้ตรงกัน
2. ปิดรูที่เจาะด้วยเทปใสทั้ง 3 รู
3. เต็มน้จนเต็ม
4.  ค่อยๆเปิดเทปใสออกทีละ 1 รู
     จะพบว่ารูที่อยู่ล่างสุด น้ำนั้นจะพุ่งออกจากรูแรงและไกลกว่ารูที่อยู่ด้านบน   เกิดจาก    แรงดันของน้ำ (ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ภาชนะ)  มีไม่เท่ากัน และอยู่ที่ระดับความลึกของน้ำ


การทดลอง   :  ผิวหน้าน้ำ
1. หาขวดพลาสติก 1 ใบ
2.  ตุ๊กตาดินน้ำมัน 1  ตัว  (ด้านล่างของตุ๊กตาต้องโปร่ง)
3.  เติมน้ำในขวดให้ต็ม  แล้วใส่ตุ๊กตาลงไป   ปิดฝาให้สนิท
4.เมื่อเราบีบขวดน้ำ  ตุ๊กตาที่อยู่ก้นขวดจะค่อยๆลอยขึ้นมาอยู่ผิวน้ำ   เกิดจาก  แรงดันอากาศเพิ่มขึ้น

การทดลองที่ 2 :  ผิวหน้าน้ำ
1. ใส่น้ำที่ผสมสีไว้เข้าในสายยาง
2.  ยกปลายสายยางขึ้น จะเห็นว่าน้ำที่อยู่ในสายยางมีปริมาณเท่ากัน
    *จะยกสายยางสูงหรือต่ำ ระดับน้ำในสายยางก็เท่ากันอยู่ดี*

การทดลอง  :  แรงตึงผิว
1.  เอาน้ำใส่ถ้วย
2.  ใส่ข็มเย็บผ้าลงไป  พบเห็นว่า  เข็มเย็บผ้านั้นลอยอยู่ผิวหน้าน้ำ   เนื่องจาก  ผิวหน้าน้ำสัมผัสกับอากาศ  โมเลกุลเลยรวมกลุ่ม  จึงทำให้เกิดความยืดหยุ่นของน้ำ


การทดลอง  :  ปรากฏการณ์ท่อรูเข็ม
1. แก้ว 1 ใบใส่น้ำไว้
2.  ถ้วยเปล่า  1  ใบ
3.  กระดาษทิชชุ่ม้วนเป็นแท่ง
4. ใส่ปลายทิชชู่ลงในแก้วที่มีน้ำ
5.  ปลายอีกด้านหนึ่งจะอยู่ในถ้วยเปล่า  จะเห็นว่า  น้ำซึมผ่านมาหยดในถ้วย


ทักษะที่ได้รับ
1. ทักษะการสรุปองค์ความรู้เป็นแผนผังความคิด
2.  ทักษะการคิด  ทดลอง  และหาข้อเท็จจริง


การนำไปประยุกต์ใช้
1.  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสร์ให้กับเด็กปฐมวัย
2.  การสรุปองค์ความรู้ในประเด็นหลักๆ และในเวลาที่กำหนด  โดยใช้แผนผังความคิด